On 14 – 19 July 2019, the Royal Thai Embassy invited Thai medical experts and scientists from the Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University to participate in the cooperation project on malaria and tropical diseases in Kenya | เมื่อวันที่ 14 - 19 ก.ค. 2562 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในเคนยา โดยนำคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านมาลาเรียและโรคเขตร้อนจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เยือนเคนยา

On 14 – 19 July 2019, the Royal Thai Embassy invited Thai medical experts and scientists from the Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University to participate in the cooperation project on malaria and tropical diseases in Kenya | เมื่อวันที่ 14 - 19 ก.ค. 2562 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในเคนยา โดยนำคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านมาลาเรียและโรคเขตร้อนจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เยือนเคนยา

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ก.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 299 view

          On 14 – 19 July 2019, the Royal Thai Embassy invited Thai medical experts and scientists from the Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University to participate in the cooperation project on malaria and tropical diseases in Kenya. The delegation, led by Dr. Wirongrong Chierakul, Deputy Dean for Quality Development, Faculty of Tropical Medicine, visited various health facilities in Kwale county namely the Msambweni County Referral Hospital, Eshu Dispensary and Kikoneni Health Centre, prior to proceeding to discuss ways to enhance collaboration on medical research with the Kenya Medical Research Institute (KEMRI).

          เมื่อวันที่ 14 - 19 ก.ค. 2562 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในเคนยา โดยนำคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านมาลาเรียและโรคเขตร้อนจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เยือนเคนยา เพื่อพบหารือกับผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ เช่น Kenya Medical Research Institute (KEMRI) รวมทั้งเยี่ยมชมโรงพยาบาลและสถานีอนามัยในต่างจังหวัดของเคนยา ได้แก่ โรงพยาบาลอำเภอ Msambweni และสถานีอนามัยระดับชุมชน 4 แห่ง ในจังหวัด Kwale ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อของโรคมาลาเรียและโรคเขตร้อน โดยคณะได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของจังหวัด แนวทางการตรวจรักษาในปัจจุบัน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของการรักษาพยาบาลในชุมชน เช่น ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ถนนหนทางยังไม่ดีนัก และต้องรองรับประชากรจำนวนมาก นอกจากนี้พื้นที่ส่วนใหญ่มีปัญหาไฟฟ้าดับบ่อย ทำให้สถานีอนามัยบางแห่งต้องใช้วิธีเก็บวัคซีนในช่องแช่เย็นที่มีระบบไฟฟ้าสำรองจากแก๊ส LPG ด้วย

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ